วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

โรคกุ้ง กับการเลี้ยงกุ้ง


 

     " โรคกุ้งกับการเลี้ยงกุ้ง "    

ต้องยอมรับว่าการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันเกษตรกรมักจะมีความกังวลในเรื่องของโรคกุ้งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงการเลี้ยงกุ้งหรือแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในแต่ละช่วงของฤดูกาลไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อไวรัสแบคทีเรีย และ ปรสิต โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก เชื้อไวรัส ที่ยังไม่มีทางรักษาเรียกได้ว่าเป็นขึ้นมาคงต้องจับกันอย่างเดียว รวมไปถึงการจัดการที่ดี เพื่อป้องกันมิให้ไวรัสแพร่กระจายไปบ่ออื่น หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดโรคของกุ้งด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพลูกกุ้ง คุณภาพน้ำ การจัดการบ่อเลี้ยง,ฟาร์มเลี้ยง การดูแลระหว่างการเลี้ยงต่างก็เป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้กุ้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ทั้งนั้น ถ้าเราขาดการดูแลเอาใจใส่เราจะมาดูกันว่าในการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันนี้มีโรคอะไรกันบ้าง เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจ และแต่ละชนิดเป็นยังไง


"โรคกุ้ง แบ่ง เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่.."


1 .โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ลักษณะดวงขาวบริเวณใต้เปลือก

1.1) โรคตัวแดงดวงขาว
▪️สาเหตุของโรคเชื้อไวรัส White Spot Syndrom Virus (WSSV) ชนิด DNA
▪️อาการพบ ดวงขาว บริเวณใต้เปลือกส่วนหัวและลำตัว  ลำตัวกุ้งจะมีสีแดง มีอัตราตายสูงถึง 100% ภายใน 3-5 วัน
▪️การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
▪️การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้


  


1.2) โรคกล้ามเนื้อขาวขุ่น
▪️สาเหตุของโรคเชื้อไวรัส Infecious Myonecrosis Virus (IMNV)
▪️อาการ กล้ามเนื้อขาวขุ่น บริเวณป้องสุดท้ายติดกับแพนหาง กุ้งบางตัวจะมีกล้ามเนื้อเป็นสีส้ม มีอัตราการตายสูงถึง 70%
▪️การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ (แต่ยังไม่แน่ชัด) พาหะ น้ำ
▪️การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้




1.3) โรคหัวเหลือง

▪️สาเหตุของโรคเชื้อไวรัส Yellow Head Virus (YHV) ชนิด SS RNA

▪️อาการลำตัวซีด บริเวณส่วนหัวมีสีเหลืองชัดเจน(ตับและตับอ่อน) เกยขอบบ่อ กินอาหารเพิ่มผิดปกติ หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง มีอัตราการตายสูงถึง 100% ภายใน 3-5 วัน
▪️การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
▪️การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้




1.4 โรคทอร่า

▪️สาเหตุของโรคเชื้อไวรัส Taura Syndrome Virus ชนิด RNA ชื่อ TSV
▪️อาการ พบ 3 ระยะ ได้แก่..
1.ระยะรุนแรงมีสีแดงเข้มที่เปลือกกุ้ง โดยเฉพาะบริเวณแพนหาง และรยางอื่นๆ บริเวณหางมีสีแดงเข้มกว่าปกติ ลำตัวมีสีแดง ลอกคราบแล้วนิ่มตาย
2.ระยะฟื้นตัว กุ้งที่รอดตายจากการติดเชื้อ tara จะมีรอยแผลสีดำที่เปลือก
3.ระยะเรื้อรังกุ้งลอกคราบเสร็จไม่พบจุดสีดำแต่กุ้งเป็นพาหะนำโรค
▪️การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
▪️การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้




1.5 โรคไวรัสเอ็มบีวี

▪️สาเหตุของโรคเชื้อไวรัส Monodon Baculovirus (MBV)
▪️การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
▪️การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้




1.6 โรคแคระแกร็น

▪️สาเหตุของโรคเชื้อไวรัส Infectious Hepatopancreatic Hemopoietic Necrosis Virus  (IHHNV)  DNA
▪️อาการ กุ้งแคระแกร็น โตช้า ตัวคดงอ
▪️การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
▪️การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้




2.  โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

    2.1  โรคเรืองแสง
▪️สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย Vibrio Harveyi
▪️อาการ เรืองแสงในเวลากลางคืน ลอยขอบบ่อ พบการตายสูงในกุ้งวัยอ่อนถึงวัยรุ่น กินอาหารลดลง
▪️การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
▪️การรักษา ใส่ยาฆ่าเชื้อในบ่อ ใช้ยาปฏิชีวนะที่กรมประมงกำหนดผสมอาหารให้กินดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ
(การใช้ยาปฎิชีวนะมีทั้งประโยชน์และโทษเพราะมีสารพิษตกค้าง เป็นอันตรายต่อผู้ใช้,ต่อผู้บริโภค)


         
          

2.2  โรควิบริโอ
▪️สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio  ได้แก่ V.harveye, V.parahaemolyticus, V.alginolyticus
▪️อาการ ตับอักเสบ ซีด เหลืองโต หางกร่อน กินอาหารลดลง ทยอยตาย
▪️การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
▪️การรักษา ใส่ยาฆ่าเชื้อในบ่อ ใช้ยาปฏิชีวนะที่กรมประมงกำหนดผสมอาหารให้กินดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ
(การใช้ยาปฎิชีวนะมีทั้งประโยชน์ และโทษเพราะมีสารพิษตกค้างตัวกุ้ง,พื้นบ่อ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้,ต่อผู้บริโภค)



2.3  โรคขี้ขาว

▪️สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio
อาการ กินอาหารลดลง ตัวหลวมกรอบแกรบ โตช้าแตกไซด์ มีขี้ขาวลอยให้เห็นเป็นจำนวนมากบริเวณผิวน้ำ
▪️การระบาดของโรค คุณภาพไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
▪️การรักษา ดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ ใส่จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำเป็นประจำ ใช้ไคโตซานผสมอาหารให้กุ้งกินเป็นประจำทุกวัน
▪️การรักษา ใส่ยาฆ่าเชื้อในบ่อ ใช้ยาปฏิชีวนะที่กรมประมงกำหนดผสมอาหารให้กิน ดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ
(การใช้ยาปฎิชีวนะมีทั้งประโยชน์ และโทษเพราะมีสารพิษตกค้างตัวกุ้ง,พื้นบ่อ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้,ต่อผู้บริโภค)




2.4  โรค EMS

▪️สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio
▪️อาการ กุ้งสีซีด ตัวขาวขุ่น เปลือกนิ่ม ตับฝ่อ
▪️การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
▪️การรักษา เนื่องจากเกิดการตายอย่างรวดเร็วจึงไม่สามารถรักษาทัน แต่ป้องกันได้




3.  โรคที่เกิดจากปรสิตภายในและภายนอก

3.1)  ปรสิตภายนอก ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium  sp.)

▪️สาเหตุของโรค ปรสิตภายนอก ซูโอแทมเนียม
▪️อาการ เกิดจากการเกาะทำลายของปรสิตภายนอก ซูโอแทมเนียม ที่บริเวณเหงือกและลำตัวกุ้ง ทำให้เหงือกเป็นสีน้ำตาล หรือ ดำ ถ้าเป็นมากลำตัวกุ้งจะสกปรกคล้ายโคลนเกาะ ลอกคราบไม่ออก บางครั้งพบกุ้งตาย
▪️การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
▪️การรักษา ใช้ยากำจัดซู ฟอกน้ำ ฟอกเหงือก  ฟอกตัวกุ้ง



3.2)  ปรสิตภายในหรือพยาธิ  กรีการีน (Gregarines)
▪️สาเหตุของโรค กรีการีนในทางเดินอาหาร
อาการ กินอาหารลดลง กุ้งโตช้า
▪️การรักษา ใช้สารสกัดกระเทียมผสมอาหารให้กินเป็นประจำ

เครดิต:
เรียบเรียงโดย  ขวัญเรือน  สุวรรณรัตน์
เอกสารอ้างอิง:
นิตยสาร สัตว์น้ำ. เล่มที่ 348(6) สิงหาคม 2561. ISSN 0858-2386.

"ธรรมชาติบำบัดไม่ทัน ฟาร์มOKบำบัดแทนได้" คลิ๊กเลย>>>https://farmokl2512.blogspot.com/2021/11/ok.html

ขอบคุณรีวิวแชร์...[CR] [CR]แชร์วิธีกำจัดโรคขี้ขาวในกุ้งขาวจนหาย จับบ่อเดียว 5 ตัน 7 แสนบาท
คลิ๊กเลย>>>https://m.pantip.com/topic/37901451

"คอนเฟริม์ จบทุกปัญหาบ่อกุ้งโรคระบาด" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/02/ok.html?m=1<<<คลิกเลย

"เลี้ยงกุ้งง่ายๆจบทุกปัญหาการเลี้ยงกุ้ง" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/01/blog-post.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

"พิชิตกุ้งขี้ขาว คอนเฟริม์ ขี้ขาวหายชัวร์ ขี้ขาวหายจริงๆ" https://farmokl2512.blogspot.com/2018/12/blog-post.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

"แก้ขี้ขาวหายชัวร์"คอนเฟริม์"กุ้งเป็นโรคขี้ขาวใช้แล้วหายชัวร์พื้นที่จังหวัดสงขลา"
https://farmokl2512.blogspot.com/2018/09/ok.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

#รีวิวการันตีจากชาวบ่อเยอะ
#รีวิวจากยอดขายล้านลิตร
#รีวิวจากลูกค้าใช้งานจริง
#รีวิวจากยอดขายที่ขายจริง
#รีวิวแน่นดูได้ที่นี่... https://farmokl2512.blogspot.com/2018/09/2538-2544-2548-340000-32000-ok-ems-ok.html?m=1

"โรคEHP-SHIV โรคระบาดในกุ้ง" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/05/ehp-shiv.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

"ฟาร์มOK มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงกุ้งอย่างไร" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/05/ok.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

"เลี้ยงกุ้งได้ ปลอดโรค รู้เขา รู้เรา เลี้ยงกุ้งง่าย ได้กำไรทุกค๊อบ ไม่เสียเวลา-พื้นที่" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/05/ok_16.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

"ปัจจุบัน.ไคโตซานฟาร์มOKได้มีการนำมาในการเพาะเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำอย่างแพร่หลาย และมีการพัฒนาการใช้งานให้กว้างขวางแก่สัตว์น้ำทั่วทุกภาคส่วนทุกพื้นที่ทั่วไทย" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/11/blog-post_11.html?m=1>>>คลิ๊กเลย

อนุญาตแชร์แบ่งปันความรู้ไปตามกลุ่มคนเลี้ยงกุ้ง เกษตรอินทรีย์ การเกษตรทุกชนิด
https://line.me/ti/p/uQxRrrOn0t
_______________________________
#กุ้งขี้ขาว #โรคตัวแดงดวงขาว #โรคกุ้งEHP-SHIV #กุ้งEMS #โรคธอร่า #โรคกุ้งระบาด #กุ้งตะกอนเข้าเหงือก #กุ้งแคระแกรน #กุ้งตัวลีบผอม #กุ้งกิ๊กโก๋หัวโตหางลีบ #พีเอชแกว่ง #จุลินทรีย์ #น้ำเน่าเสีย #แพลงตอนบลูม #ไนไตรท์ขึ้น #แอมโมเนียสูง #น้ำหนืด #น้ำขุ่นตะกอน #ไคโตซานฟาร์มOK #ฟาร์มOK #ไคโตซาน