วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ฟาร์มOK มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงกุ้งอย่างไร?


ไคโตซาน มีประโยชน์กับการเลี้ยงกุ้งอย่างไร?


ไคโตซาน ฟาร์ม OK เพียวๆ 100 % นวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่น ไม่ผสมเคมี สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสารเคมีตกค้าง ปลอดภัย ทั้งผู้ใช้ และผู้ขาย รวมถึงผู้บริโภค

✍เริ่มมีการนำไคโตซาน มา ประยุกต์ ใช้ในธุรกิจสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้ง เมื่อนานมาก กว่าปีนี้ โดยเริ่มจากการนำไคโตซาน มาเคลือบเม็ดอาหารกุ้งก่อน โดยมีความเชื่อว่า ไคโตซานเป็นโพลิเมอร์ธรรมชาติ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ในสมัยก่อนนั้น อาหารกุ้งจะมีค่าความคงตัวต่ำ ละลายน้ำได้เร็ว เมื่อแช่อาหารกุ้งในน้ำ 2-3 ชั่วโมง อาหารกุ้งจะละลายตัวเละ ยุ่ยง่าย จนกุ้งไม่สามารถนำเม็ดอาหารกุ้งมากินได้ ทำให้อาหารกุ้งละลายเสียสภาพไป จมน้ำในบ่อเป็นจำนวนมาก และเศษอาหารที่ละลายอยู่ ในน้ำ จึงเป็นปัญหากับคุณภาพ น้ำในบ่อ ก่อให้เกิดการเน่าเสียของน้ำ ทำให้ค่าแอมโมเนีย และไนไตรท์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นพิษกับกุ้งในบ่อ หากแก้ไขคุณภาพน้ำในบ่อไม่ทัน อาจทำให้กุ้งเสียหายและตายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อใช้ไคโตซาน ในรูปแบบสารละลายไคโตซานเข้มข้น 3-5 % W/V มาเคลือบเม็ดอาหาร และผึ่งตากทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้เกิดฟิล์มไคโตซานแห้ง หลังจากเม็ดอาหารถูกเคลือบด้วยไคโตซาน แห้งดีแล้ว จึงนำไปหว่านลงในบ่อกุ้ง เม็ดอาหารจะคงตัวอยู่ในน้ำได้นานถึง 12 ชั่วโมง โดยไม่ละลายตัวกลายเป็นผง ยุ่ยง่าย ยังคงสภาพเป็นเม็ดอยู่ มีเนื้อสัมผัสคล้ายกับลูกชิ้นปลาเนื่องจากไคโตซานจะเข้าไปรัดเม็ดอาหารให้อยู่ในตัวในน้ำ กุ้งสามารถ คีบเม็ดอาหารกินได้ง่าย และ ทำให้คุณภาพของน้ำ ในบ่อดีขึ้น เนื่องจากไม่มีเม็ดอาหารละลายออกมาจนทำให้น้ำในบ่อเสียจนเกิดแอมโมเนีย

💢แต่เมื่อใช้ไคโตซานเคลือบ เม็ดอาหารกุ้ง ให้กินสักระยะหนึ่ง กุ้งจะเริ่มทยอยลอกคราบออกมา เนื่องจากไคโตซานไปเสริมสร้างสารไคตินซึ่งเป็นสารที่กุ้งใช้สำหรับการสร้างเปลือก และเนื้อเยื่อ ซึ่งกุ้งธรรมชาติ ได้รับไคตินสด อย่างเพียงพอ จากเปลือกของสัตว์ทะเลต่างๆที่กุ้งจับกิน เช่น กุ้ง,เคย,กุ้งปูตัวเล็ก,หอย,ปลาหมึก จึงทำให้กุ้งธรรมชาติสามารถลอกคราบได้อย่างปกติ แต่กุ้งในบ่อเลี้ยง ได้รับสารไคตินไม่เพียงพอที่จะช่วยในการลอกคราบ เนื่องจากกุ้งในบ่อเลี้ยงมีจำนวนมาก และถูกเลี้ยงอย่างหนาแน่นปริมาณไคตินที่กุ้งจะได้รับจากอาหารกุ้ง จึงไม่มากเพียงพอถึงแม้นว่ากุ้งจะสามารถสังเคราะห์สารไคตินขึ้นมาได้เองจากอาหารก็ตาม


💢การลอกคราบของกุ้งเกิดจากการสะสมอาหารอย่างเต็มที่ และสร้างสารไคตินขึ้นมาได้เพียงพอกุ้งจึงเริ่มลอกคราบเพื่อขยายขนาดตัว (หลังจากกุ้งลอกคราบกุ้งจะกินคราบเก่าของตัวเอง)เพื่อสร้างไคตินเก็บไว้สำรองสำหรับการลอกคราบครั้งต่อไปกุ้งที่ลอกคราบไปแล้ว จะไม่สามารถลอกคราบได้อีกในระยะเวลาสั้นๆเนื่องจากต้องสะสมอาหารและสร้างสารไคตินสำหรับการสร้างเปลือกให้ได้มากเพียงพอ เสียก่อน จึงสามารถลอกคราบครั้งต่อไปได้

💢ก่อนที่กุ้งจะเริ่มลอกคราบกุ้งจะเริ่มดึงแร่ธาตุจากเปลือกมา เก็บไว้ที่ตับกุ้ง ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในตัวกุ้ง ตับกุ้งมีหน้าที่ย่อยอาหารสร้างเอนไซม์เก็บสะสมอาหารและแร่ธาตุต่างๆไว้สำหรับการดำรงชีวิตของกุ้งเมื่อกุ้งลอกคราบแล้วกุ้งจะดึงสารอาหารต่างๆและแร่ธาตุที่เก็บไว้ที่ตับมาใช้ในการสร้างโครงสร้างเปลือก และดูดแร่ธาตุต่างๆจากน้ำผ่านทางเหงือกเพื่อสะสมทำให้เปลือกแข็งในที่สุด


💢กุ้งเก็บสารสร้างเปลือกในรูป สารประกอบไคตินไว้ในตับและเนื้อเยื่อและจะนำมาใช้เมื่อเริ่มลอกคราบหากกุ้งได้อาหารเสริมสารไคติน เช่น ไคโตซาน ก็จะทำให้กุ้งสามารถสร้างสารประกอบไคตินได้มากขึ้นจึงทำให้การลอกคราบง่ายและสมบูรณ์ ซึ่งทำให้มีอัตราการรอดชีวิตสูง การเสริมสารไคตินในอาหารกุ้ง ช่วยให้กุ้งกินอาหารเป็นประจำมีประโยชน์ต่อกุ้งและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทำให้เลี้ยงกุ้งง่ายขึ้น แข็งแรงขึ้น โตเร็วดีขึ้น ลอกคราบง่ายสมบูรณ์ขึ้น ที่สำคัญ ไคโตซานเป็นสารธรรมชาติที่สกัดมาจากเปลือกกุ้ง 100% จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ บำรุงกุ้ง และไม่มีสารตกค้างหรือสารต้องห้ามผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพมานานมากกว่า 10 ปี ว่า มีประโยชน์เมื่อนำไปใช้กับการเลี้ยงกุ้งและบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้ง แก้แอมโมเนียสูง






"คอนเฟริม์ จบทุกปัญหาบ่อกุ้งเป็นโรคระบาด,แก้แอมโมเนียสูง" https://farmokl2512.blogspot.com/2019/02/ok.html?m=1<<<คลิกเลย

สนใจสั่งซื้อ - สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
✍ส่งข้อความและโทรฟรีด้วย 🆔️LINE 0620135665
https://line.me/ti/p/hJ7AGHjAZZ<<< คลิ๊กเลย

( เกษตรกรกว่า 99% พอใจกับฟาร์มOK )

กุ้ง สัตว์น้ำ โรคระบาดในกุ้ง โรคกุ้งทุกชนิด เกษตร ปรับค่าพีเอชสมดุล บำบัดน้ำเสีย น้ำเน่ามีกลิ่น แพลงตอนก์ดร๊อป




ขอบคุณข้อมูลจาก: เคดิตศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์น้ำ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

🦐#กุ้งกุลาดำ #กุ้งขาวแวนาไม #บำบัดน้ำเสีย #แก้ปัญหาแก๊สไข่เน่า #ลดแอมโมเนีย #ปรับค่าพีเอชให้สมดุลคงที่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น